วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561


          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.


The khowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้ดูคลิปเรื่องเเสง ว่าเเสงเกิดได้ยังไง เกิดจากไหน 


แหล่งกำเนิดแสง
           แหล่งกำเนิดแสง  คือวัตถุที่เป็นต้นตอของแสง หรือทำให้เกิดแสง เราสามารถจำแนกประเภทของแสงตามแหล่งกำเนิด เป็น ประเภท

           1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ แสงอาทิตย์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากสัตว์บางชนิดที่มีแสงในตัวเอง เช่นหิ่งห้อย จั๊กจั่นงวงช้าง ปลาไหลไฟฟ้า  แหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ เกิดจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงมาก เช่น ดวงอาทิตย์ และดาวฤกษ์ แสงสว่างบนโลกของเราส่วนใหญ่ได้มาจากดวงอาทิตย์ แสงจากดวงอาทิตย์จะแผ่พลังงานออกมารอบๆ และส่องมายังโลกด้วย  
ดาวฤกษ์ เป็นแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ เช่นเดียวดวงอาทิตย์  
    
           2. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  ได้แก่ แสงจากไฟฉาย  หลอดไฟฟ้า  ตะเกียง เทียนไข และการเผาไหม้เชื้อเพลิง ต่าง ๆ เช่น ไม้ กระดาษ ถ่าน ถ่านหิน มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์สิ่งที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงขึ้น เพื่อทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ในเวลากลางคืน หรือในที่ไม่มีแสงสว่าง เช่น คบเพลิง  ตะเกียงแบบต่าง ๆ และเทียนไข ซึ่งเป็นแสงที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง แต่แสงที่เกิดจากวิธีนี้จะก่อให้เกิดมลพิษ โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ  จนกระทั้ง ทอมัส  แอลวา เอดิสัน ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้น ในยุดแรกเป็นหลอดไฟฟ้าแบบมีไส้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะร้อนจนเปล่งแสงสว่างออกมา ไส้หลอดนิยมทำด้วยทังสเตน หลอดไฟฟ้าแบบมีไส้นี้พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนมากกว่าที่เป็นแสงสว่าง
    การเคลื่อนที่ของแสง
            แสงเดินทางออกจากแหล่งกำเนิดทุกทิศทาง และเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง แสงเดินทางได้เร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 186000 ไมล์ต่อวินาที เร็วกว่าทุกสิ่งในจักรวาล และสามารถ  เดินทางผ่านสุญญากาศโดยแสงใช้เวลาเพียง นาที จากดวงอาทิตย์ถึงโลก

Skills (ทักษะ)
      ได้ความรู้เรื่องแสงและเงา การเกิดรุ้งกินน้ำ ได้พัฒนาทักษะการฟังและการจดสรุปเพื่อนำมาใส่ใน Blog ของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ประโยชน์ในวิชาที่เรียนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งวิชาอื่นๆ ต่อไปได้
             
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
     สามารถนำความรู้เรื่องแสงที่ได้เรียนไปเป็นแนวทางในการคิดและวางแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้ ในวีดีโอจะมีตัวอย่างการทดลองมากมาย เช่น การทดลองการสร้างรุ้งกินน้ำ การทดลองการเดินทางของแสง เราสามารถนำไปประยุกต์สร้างสื่อต่าง ๆ ในการสอนเด็ก การทำกล้องเพอริสโคป การทดลองการรวมแสงของเลนส์นูน ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ
Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
     อาจารย์มีเทคนิคและวิธีในการนำเข้าสู่บทเรียนที่ตื่นเต้นและเร้าความสนใจ อย่างวีดีโอที่นำมาเปิดจะมีความยาวมาก แต่อาจารย์จะมีการเพิ่มเติมจากคลิปและอธิบายเนื้อส่วนที่เร็วทำให้นักศึกไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะมีการอธิบายเพิ่มเติมและใช้คำถามกระตุ้นการฟังและเร้าความสนใจ

Assesment (ประเมิน)

Our self :ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการสอนและดูวีดีโออย่างตั้งใจ
Friend : เพื่อนๆตั้งใจดูคลิปวิดีโอ
 Teacher :อาจารย์มีการอธิบายเพิ่มเติมจากคลิปที่ดูตลอด เนื่องจากบางทีนักศึกษาอาจจะฟังไม่ทัน
Classroom : บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน เย็นสบาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.


The khowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
   คนเเรก นางสาวปรางทอง  สุริวงษ์ ทดลองเรื่องการเปิดปิดสวิตซ์ นำถ่านมาต่อเข้ากลับสายไฟปากหรีบจระเข้โดยที่อีกฝั่งมีหลอดไฟดวงเล็กอยู่ๆ และนำสายไฟปากหนีบจระเข้ที่ว่างหนีบเข้าหากันจะทำให้ไฟติด
   คนที่สอง นางสาว บงกชกมล  ยังโยมร ทดลองเรื่อง เมล็ดพืชเต้นระบำโดยการนำเอาน้ำเปล่าเเละน้ำโซดามาใส่ลงในเมล็ดพืชเเละสังเกตการลอย ถ้าลอยเเสดงว่ามีการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
     นำหรือไม่นำไฟฟ้า ของนางสาวณัฐชา  บุญทอง


วัสดุอุปกรณ์ กรรไกร คริปหนีบกระดาษ ถ่าน สายไฟ หลอดไฟ แก้วน้ำ ยางลบ เหรียญ






กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง ? 
ถ้าต่อของแต่ละชนิดจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? กระตุ้นให้ตอบสมมติฐาน
ทดลองโดยการ
ต่อสายไฟและถ่านจนครบวงจรปรากฏว่าหลอดไฟติด แต่ถ้าถอดออกไฟดับ เพราะไม่ครบวงจร ทดลองเอาวัสดุต่างๆไปเชื่อมต่อ ถ้าหลอดไฟติดแสดงว่านำไฟฟ้า เรียกว่าโลหะ  คือ เหรียญ กรรไกร คริปหนีบกระดาษ  ถ้าต่อแล้วหลอดไฟไม่ติดเรียกว่า อโลหะ ไม่นำไฟฟ้า คือ แก้วน้ำและยางลบ 

⏩ การหักเหของน้ำ ของนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์
 ทดลองโดยการ 
1. นำผ้าเช็ดหน้าถูกับช้อนจนเกิดความร้อน
2.นำช้อนที่มีไฟฟ้าสถิตไปวางขนานใกล้กับสายน้ำ และสังเกตการเปลี่ยนแปลง 
สรุปได้ว่า สร้างไฟฟ้าสถิตทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่


Skills (ทักษะ)
             ได้ทักษะการคิดเเละสังเกต
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
    เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มเติมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับตัวเอง เพราะบางเรื่องไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะจัดการทดลองอย่างไร การจัดกิจกกรรมการนำเสนอการทดลองครั้งนี้จึงเป็นการเรียนรู้ของทั้งเด็กปฐมวัยและตัวนักศึกษาเองด้วย

Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
    อาจารย์ใช้เทคคนิคการถามตอบ

Assesment (ประเมิน)

Our self :ตั้งใจเรียนเเละมีคุยบ้าง
Friend :  เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
 Teacher :อาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการนำไปปฏิบัติในการจัดกิโครงการให้กับเด็กปฐมวัย อาจารย์ตรวจอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
Classroom : อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจ


          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.


The khowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
เพื่อนๆทุกคนได้นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ครบ อาจารย์ให้จับกลุ่มและเลือกเรื่องการทดลอง 1 เรื่อง เพื่อจัดทำเป็นฐานการทดลองกับเด็ก ให้แต่ละกลุ่มตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจและทำแผนกิจกรรม วัตถุประสงค์ และช่วยกันทำเป็นโครงการของห้องเพื่อไปสู่การทดลองจัดกิจกรรมกับเด็กๆ
ชื่อฐาน ปริศนา ซี โอ ทู

วัตถุประสงค์
  1. เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากอะไร
  2. เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีประโยชน์และโทษอย่างไร
กิจกรรม
1.      สิ่งของเหล่านี้เด็กๆคิดว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?
ประเด็นที่อยากรู้
            2.สิ่งของที่วางอยู่บนโต๊ะถ้าเอาน้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือมันจะเกิดปฏิกิริยาอะไรบ้าง
สมมติฐาน
 (คำถามเพื่อให้เด็กตั้งสมมติฐาน) ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดอะไรขึ้น?
(นี่คือสมมติฐานเป็นสิ่งที่เด็กตอบ) 3.ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดการละลาย
ทดลอง
4. ครูให้เด็กตักเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือแต่ละชนิด ครั้งละ  2 ช้อนใส่ในแก้วพลาสติกใบที่ 1 ,2,3,4 ตามลำดับ
 5. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 1 ที่มี เบกกิงโซดา และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            6. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 2 ที่มี น้ำตาลทราย และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            7. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 3 ที่มี ผงฟู และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            8. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 4 ที่มีเกลือ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
อภิปรายข้อมูล
ผลจากการสังเกต
9แก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการละลายและเกิดฟอง
10. แก้วใบที่ 2 และใบที่ 4 มีการละลายอย่างเดียว
ตรวจสอบกับสมมติฐาน
11. ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดการละลาย
สรุปผลการทดลอง
น้ำมะนาวละลายสารทั้ง 4 ชนิดเป็นไปตามสมมติฐาน และเกิดข้อค้นพบว่าแก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการเกิดฟอง เพราะน้ำมะนาวเป็นกรดทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดาและผงฟูทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งอากาศนั้นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

วิธีการประเมิน
-          สังเกตจากพฤติกรรมขณะร่วมปฏิบัติการทดลอง
-          การสนทนาซักถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำมะนาวและสารทั้ง 4 ชนิด
-           
สื่อ /  อุปกรณ์
1.เบกกิงโซดา
2.น้ำตาลทราย
3.ผงฟู
4.เกลือ
5.น้ำมะนาว
6.แก้วน้ำพลาสติก
7.ช้อน
8.น้ำอัดลม
9.เนื้อหมู


Skills (ทักษะ)
   การนำกระบวนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น มาใช้ในการตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจนให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ ความสมัคคีในการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก และการวางแแผนการดำเนินงาน
             
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
เอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กๆเรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้และสามารถ เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งเป็นประสบการณ์สำหรับการจัดทำโครงการต่างๆการวางแผนหน้าที่รับผิดชอบของคนในกลุ่ม

Assesment (ประเมิน)

Our self :ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
Friend : เพื่อนๆทำงานกลุ่มอย่างตั้งใจ
 Teacher :อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ
Classroom : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.


The khowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

    การทดลองเรื่อง ปริมาณน้ำ 


น้ำในแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ ?  
 ➤การทดลอง นำแก้ว 4 ใบที่มีขนาดแตกต่างกัน แล้วเทน้ำใส่ลงในแก้วทั้ง 4 ใบในปริมาณที่เท่ากัน
 จากนั้นถามเด็กๆว่า น้ำที่อยู่ในแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ ? ถ้าเด็กตอบว่าไม่ หรือแต่ละใบมีน้ำที่แตกต่างกัน แสดงว่าเด็กอยู่ใน
 ➤ขั้นอนุรักษ์ คือการตอบตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กๆตอบว่า น้ำในแก้วมีปริมาณที่เท่ากันแสดงว่าเด็กๆได้ผ่านขั้นอนุรักษ์มาแล้ว คือการตอบด้วยเหตุและผล  
➤จากการทดลอง เด็กจะได้ใช้ความคิด และมีส่วนร่วมในการทดลอง คือ การตักน้ำใส่น้ำแก้วได้เรียนรู้จากการเห็นและสัมผัสของจริง สามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆได้
การทดลองเรื่อง น้ำมะนาวโซดา 
    ทดลองโดยการนำเบกกิงโซดา ผงมะนาว และน้ำผสมกัน จากการวัด ตวง  ส่วนผสมในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นใส่น้ำหวานลงไป  เพื่อทำน้ำมะนาวโซดา ส่วนผสมต่างๆที่ใช้ในการทดลอง ถ้าใส่ในปริมาณมากจะทำให้รสชาตินั้นโดดเด่นขึ้นมา ถ้าเปรี้ยวจัดแสดงว่าใส่กรดมะนาวผงมากเกินไป การใส่น้ำตาลลงไปไม่สามารถทำให้รสเปรี้ยวหายไปได้ แต่จะทำให้น้ำเปรี้ยวจัดและหวานจัดไปเลย เพราะลิ้นส่วนบริเวณที่รับรสเปรี้ยวและรสหวานอยู่คนละแห่ง โดยด้านข้างจะรับเปรี้ยว และส่วนปลายลิ้นจะรับรสหวาน
 ➤สรุปการทดลอง เมื่อเบกกิงโซดาผสมกับน้ำมะนาวและใส่น้ำหวานลงไปจะได้น้ำมะนาวโซดาที่มีความอร่อย คือผงมะนาว 1 ช้อน ต่อเบกกิงโซดาเพียงเล็กน้อย เพราะใส่มากจะทำให้เกิดรสเฝื่อน การใส่น้ำหวานทำให้รสชาติดีไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล
 ➤ข้อค้นพบ มื่อนำเบกกิงโซดาผสมกับกรดมะนาวผงและน้ำหวานจะได้น้ำมะนาวโซดาที่มีฟองฟู่คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 



Skills (ทักษะ)
             การนำเสนอการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกัน การนำเสนอด้วยการใช้คำพูดต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจ และความร่วมมือช่วยเหลือกัน
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้และสมารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้



Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
หาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากอินเทอร์เน็ตและสื่อต่างๆ  ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการนำเสนอรู้จักการนำกราฟิกมาใช้ในรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการลงมือทำ

Assesment (ประเมิน)

Our self :ให้ความร่วมมือในการทดลองของเพื่อน
Friend : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์
 Teacher : อาจารย์ได้มีการให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น อาจารย์อธิบายขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนและเข้าใจ

Classroom : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.


The khowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
     อาจารย์แจกแผ่นความรู้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย คนละ 1 แผ่น เป็นการทดลองเรื่องต่างๆที่สอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ ให้อ่านและสรุปจากแผ่นความรู้ที่แจกใน 1 หน้ากระดาษ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น
 อาจารย์ให้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยวัสดุที่ใช้เป็นหลักคือแกนทิชชู่และหาอุปกรณ์เพิ่มเติมจากห้องเรียน เช่น กระดาษ การเติมสีส้น  คนละ 1 อย่างโดยต้องไม่ซ้ำกัน 

สิ่งที่เลือกประดิษฐ์คือ รถยนต์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องพลังงานกล ในทางฟิสิกส์ จะหมายถึง พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ 
พลังงานจลน์  คือ พลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้
อุปกรณ์ 1. แกนทิชชู่2. กระดาษสี3. กระดาษแข็ง4. เทปกาว







Skills (ทักษะ)
    การอ่านสรุปความและการตั้งประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา การนำทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้และการวางแผนในการจัดกิจกรรม วิธีการดำเนินงานต่างๆ
             
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
นำแนวทางการวางแผนลำดับขั้นตอน จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในวางแผนการจัดกิจกรรมต่างๆในอนาคตให้กับเด็กๆให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอน

Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
    ฝึกการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และลงมือกระทำ

Assesment (ประเมิน)

Our self : ตั้งใจเรียน
Friend : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือ
 Teacher :อาจารย์อธิบายและแนะนำการสรุปและตั้งประเด็นได้เข้าใจ เพราะบางคนไม่เข้าใจสรุปไม่เป็น อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมจนสามารถสรุปได้สำเร็จ
Classroom : บรรยากาศการเรียนดี