วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.


The khowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

    การทดลองเรื่อง ปริมาณน้ำ 


น้ำในแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ ?  
 ➤การทดลอง นำแก้ว 4 ใบที่มีขนาดแตกต่างกัน แล้วเทน้ำใส่ลงในแก้วทั้ง 4 ใบในปริมาณที่เท่ากัน
 จากนั้นถามเด็กๆว่า น้ำที่อยู่ในแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ ? ถ้าเด็กตอบว่าไม่ หรือแต่ละใบมีน้ำที่แตกต่างกัน แสดงว่าเด็กอยู่ใน
 ➤ขั้นอนุรักษ์ คือการตอบตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กๆตอบว่า น้ำในแก้วมีปริมาณที่เท่ากันแสดงว่าเด็กๆได้ผ่านขั้นอนุรักษ์มาแล้ว คือการตอบด้วยเหตุและผล  
➤จากการทดลอง เด็กจะได้ใช้ความคิด และมีส่วนร่วมในการทดลอง คือ การตักน้ำใส่น้ำแก้วได้เรียนรู้จากการเห็นและสัมผัสของจริง สามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆได้
การทดลองเรื่อง น้ำมะนาวโซดา 
    ทดลองโดยการนำเบกกิงโซดา ผงมะนาว และน้ำผสมกัน จากการวัด ตวง  ส่วนผสมในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นใส่น้ำหวานลงไป  เพื่อทำน้ำมะนาวโซดา ส่วนผสมต่างๆที่ใช้ในการทดลอง ถ้าใส่ในปริมาณมากจะทำให้รสชาตินั้นโดดเด่นขึ้นมา ถ้าเปรี้ยวจัดแสดงว่าใส่กรดมะนาวผงมากเกินไป การใส่น้ำตาลลงไปไม่สามารถทำให้รสเปรี้ยวหายไปได้ แต่จะทำให้น้ำเปรี้ยวจัดและหวานจัดไปเลย เพราะลิ้นส่วนบริเวณที่รับรสเปรี้ยวและรสหวานอยู่คนละแห่ง โดยด้านข้างจะรับเปรี้ยว และส่วนปลายลิ้นจะรับรสหวาน
 ➤สรุปการทดลอง เมื่อเบกกิงโซดาผสมกับน้ำมะนาวและใส่น้ำหวานลงไปจะได้น้ำมะนาวโซดาที่มีความอร่อย คือผงมะนาว 1 ช้อน ต่อเบกกิงโซดาเพียงเล็กน้อย เพราะใส่มากจะทำให้เกิดรสเฝื่อน การใส่น้ำหวานทำให้รสชาติดีไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล
 ➤ข้อค้นพบ มื่อนำเบกกิงโซดาผสมกับกรดมะนาวผงและน้ำหวานจะได้น้ำมะนาวโซดาที่มีฟองฟู่คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 



Skills (ทักษะ)
             การนำเสนอการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกัน การนำเสนอด้วยการใช้คำพูดต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจ และความร่วมมือช่วยเหลือกัน
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้และสมารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้



Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
หาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากอินเทอร์เน็ตและสื่อต่างๆ  ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการนำเสนอรู้จักการนำกราฟิกมาใช้ในรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการลงมือทำ

Assesment (ประเมิน)

Our self :ให้ความร่วมมือในการทดลองของเพื่อน
Friend : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์
 Teacher : อาจารย์ได้มีการให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น อาจารย์อธิบายขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนและเข้าใจ

Classroom : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น